top of page
ค้นหา

5 ลักษณะการนอนสำหรับลูกวัยแรกเกิด

  • รูปภาพนักเขียน: Tida&Mom
    Tida&Mom
  • 20 มี.ค. 2561
  • ยาว 1 นาที

เด็กทารกแรกเกิดใช้เวลาส่วนมากไปกับการนอนหลับถึง 18 ชั่วโมง และที่เหลืออีก 6 ชั่วโมง ในการเล่นและกินนม เป็นแบบนี้อยู่เป็นเดือน ๆ ค่ะ ยิ่งนอนมากยิ่งดี เพราะเซลล์สมองจะพัฒนาอย่างสมบูรณ์ ลูกจะนอนแบบนี้ไปจนกระทั่งประมาณเดือนที่ 5 ก็จะเริ่มตื่นมาเล่นมากขึ้น นอนดิ้นมากขึ้น




เด็กแรกเกิดถึง 2 ขวบควรนอนราบ ไม่จำเป็นต้องใช้หมอน เพราะศีรษะของเด็กแรกคลอดจะมีขนาดใหญ่และหนักกว่าช่วงไหล่และบ่า ถ้าให้ลูกนอนหมอน บ่าลูกจะตก อาจทำให้ลูกมีอาการปวดคอ ลูกก็อาจจะร้องไห้เพราะความเจ็บปวด โดยที่เราไม่สามารถทราบสาเหตุได้เลย ทางที่ดีที่สุดควรให้ลูกนอนเบาะนอนปกติ ไม่ต้องใช้หมอนเพื่อให้ศีรษะลูกเคลื่อนไหว ได้อย่างอิสระ


5 คำแนะนำมีดังนี้คะ :


1. ปล่อยลูกให้นอนที่เบาะอย่างอิสระ ไม่ควรใช้หมอนหนุน หรือผ้าต่าง ๆ มารองจัดท่าให้ลูก ไม่ต้องกลัวลูกจะเมื่อยคอ หรือ สู้สึกไม่สบายตัว เพราะกระดูกต้นคอลูกยังอ่อนมาก


2. ถ้าต้องการให้ลูกนอนคว่ำ ไม่ควรใช้เบาะที่นุ่มจนเกินไป เพราหน้าลูกอาจจะจมทำให้หายใจไม่ออก ควรใช้เบาะที่แข็งพอสมควร เพราะเด็กรุ่นนี้ยังไม่สามารถขยับหัวได้ตามที่ต้องการ ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้นั่นเองค่ะ


3. ไม่ควรใช้หมอนหลุมเพื่อให้ลูกนอน เพราะหัวเด็กทารกจะโตกว่าลำตัว และกะโหลกศีรษะยังอ่อนอยู่มาก ถ้านอนหมอนหลุมบ่อย ๆ หัวลูกอาจจะขึ้นรูปทรงไม่สวยค่ะ ( เคยมีกรณีเคสเยอะมากที่ใช้หมอนหลุมแล้วหัวจากสวยๆ แล้วกลายเป็นหัวแบน)


4. จับลูกนอนหันข้างบ้าง ซ้ายบ้าง ขวาบ้าง สลับกันไปมาในแต่ละวันค่ะ สำหรับแม่ที่อยากให้ลูกหัวทุย วิธีนี้ใช้ได้ผลแน่นอนคะ


5. จับลูกนอนคว่ำบ้าง ในช่วงวัยที่เหมาะสม อาจจะให้นอนคว่ำในช่วงที่ลูกตื่นมาเล่น ซักวันละ 20-30 นาที เพื่อให้ลูกหัดชันคอให้แข็งค่ะ



การนอนของลูกสำคัญมาก ๆ เพราะในการนอนแต่ละครั้งคือการพัฒนาระบบประสาทและสมอง ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรหาวิธีทำให้ลูกนอนได้นาน ๆ เพื่อพัฒนาการที่ดีในอนาคตค่ะ


ที่มา : นิตยสารแม่รักลูก


Comments


ติดตามอ่านเรื่องราวดีๆและเป็นสมาชิกของเราเพื่อลุ้นรับของขวัญทุกเดือน

จะไม่พลาดอัพเดตอีกเลย

© Copyright 2018 Tida&Mom®​

 เว็บไซต์เกี่ยวกับคุณแม่และคุณลูก 

ที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ การตั้งครรภ์ การเลี้ยงลูก

พัฒนาการเด็ก ความสวยความงาม

Advertisement : wiparat.ponsab@gmail.com

bottom of page